ส่องเทรนด์โลก Global Ageing 2017 สูงวัย เรื่องใกล้ตัว ตอนทีี่ 2
- โดย Q&G
- •
- 14 พ.ย., 2560
- •

ประเทศที่พัฒนาแล้วทางฝั่งยุโรปที่ซึ่งเป็นดินแดนที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก จำนวนประชากรผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี มากกว่าร้อยละ 25 และจะยังเพิ่มขึ้นไปได้ถึงร้อยละ 34 ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593)
ทำให้หลาย ๆ ประเทศทางแถบยุโรปต่างก็ปรับขยายอายุแรงงานเพิ่มขึ้น สืบเนื่องจากสถานการณ์การเข้าสู่ยุค Super Ageing Society ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะประเทศ “นอร์เวย์” เป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้งานด้านระบบความมั่นคงทางสังคม ที่สะท้อนให้เห็นถึงการคำนึงถึงคุณภาพชีวิตในระยะยาว ด้วยข้อมูลที่เห็นแล้วว่า นอร์เวย์ มีการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างทรงตัว ก็มีการปรับอายุเกษียณงานอยู่ที่ 73 ปี กันเลยทีเดียว เรียกได้ว่า เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุอย่างรุนแรง
ในขณะที่ประเทศไทยเรา ทางภาครัฐได้มีการปรับขยายอายุงานของแรงงานในสถานประกอบการ จาก 55 ปี ขยายเพิ่มอายุงานเป็น 60 ปี โดยมีการเร่งแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน และ พ.ร.บ. ประกันสังคม เพื่อขยายอายุสิทธิประโยชน์ ชี้ให้เห็นถึงภาระหน้าที่ของบุคคลวัยทำงาน และ การขยายอายุแรงงานเพิ่มขึ้น
ซึ่งหากเปรียบเทียบกัน ระหว่าง อายุเกษียณงานของนอร์เวย์, สหรัฐอเมริกา และ ประเทศไทยของเราอยู่ที่ 73 ปี, 65 ปี และ 60 ปี ตามลำดับ สิ่งที่มีผลกระทบตามเป็นลำดับคือ การพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ และ การปลูกฝังเรื่องสุขภาพ ที่เกิดการวิจัย และ ต่อยอด ให้เห็นเทคโนโลยี และ นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อชะลอวัยให้กับมนุษย์มากขึ้น อย่างนวัตกรรมอ่างน้ำร้อนที่ทางเราจำหน่าย ก็ถือเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ และ ชะลอวัยอีกชิ้นหนึ่ง ที่ต่างประเทศนิยมใช้งาน เพื่อความบันเทิง และ ผ่อนคลายทั้งด้านกายภาพ และ จิตใจ ** ถ้าไม่เอาตรงไฮไลท์ ก็ตัดออกไป แล้วใส่เป็น อันไฮไลท์เหลืองข้างล่างนี้แทน
แล้วคอยติดตาม นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ และ ชะลอวัยที่เป็นประโยชน์ได้ที่บทความจาก Q&G กันนะคะ

หากพูดถึงเทคโนโลยีล้ำ ๆ ผู้เขียนนึกถึงประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกเลยล่ะ เพราะการเข้าสู่สังคมยุค Super - Ageing ของประเทศญี่ปุ่น เค้าใช้นวัตกรรมด้าน AI ( Artificial Intelligence ) มาเป็นอันดับหนึ่ง!
ประเทศญี่ปุ่น เข้าสู่สังคมสูงวัยเป็นประเทศแรกก่อนใครเพื่อน โดยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ตั้งแต่ปี 2002 ( พ.ศ. 2545) ด้วยมีจำนวนผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ในประเทศ 35.1% ตามมาด้วย อิตาลี 34.0%, เยอรมัน 33.2%, กรีซ 31.6% และ สเปน 31.4% ใน 5 อันดับประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุด ในปี 2002 ส่งผลให้เกิดตลาดสำหรับผู้สูงอายุจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน ปี 2017 ( พ.ศ.2560 ) นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น มีการพัฒนา และ ต่อยอดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใช้กับผู้สูงวัยได้หลากหลาย โดยใช้หุ่นยนต์ และ เทคโนโลยีร่วมสมัยในการสรรสร้าง AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่เอื้อความสะดวกให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น

หากใครเคยดูภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Big Hero 6 ที่ตัวละคร สร้างหุ่นยนต์พยาบาล ‘เบย์แมกซ์’ ที่มีความสามารถในการช่วยเหลือ และ พยาบาลคนป่วยได้ หุ่นยนต์พยาบาลนี้ก็มีขึ้นแล้วที่นาโกย่า - นักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวญี่ปุ่น มีการคิดค้น พัฒนานวัตกรรมทางด้าน AI ในการสร้างหุ่นยนต์พยาบาลหมี ช่วยดูแลผู้สูงอายุ เช่น พาไปเข้าห้องน้ำ, ช่วยเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวเองได้ไปยังที่ต่าง ๆ ด้วยสัมผัสที่นุ่มนวล และ หน้าตาน่าเอ็นดู เรียกได้ว่า ใครที่ได้หุ่นยนต์หมีดูแล ต้องแฮปปี้มาก ๆ เลยล่ะ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ภาพจากสำนักข่าว FP โดย JON EMONT | 1 มีนาคม 2560
http://foreignpolicy.com/2017/03/01/japan-prefers-robot-bears-to-foreign-nurses/

มาต่อกันที่อิสราเอล - สำหรับผู้มีบุคลิกภาพทางสังคม ขอแนะนำ AI ออกแบบโดย Intuition Robotics™ ซึ่งใช้แอนดรอยด์ในการพัฒนาให้หุ่นยนต์ ช่วยเชื่อมต่อคุณกับคนในครอบครัว และ เพื่อน ๆ ที่อยู่ต่างที่กันได้อย่างไร้ขอบเขต (ที่มี wifi) ประกอบด้วยสามารถแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบโดยท่าทาง และ การพูดคุย เป็นเพื่อนคลายความเหงาให้กับผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่คนเดียว, รับคำสั่งจากมนุษย์ได้ด้วยเสียง รวมถึงให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ เช่น แนะนำกิจกรรมยามว่างดี ๆ ในขณะนั้น เป็นต้น
คลิ๊กลิงค์เพื่อชมตัวอย่างหุ่นยนต์ ELLIQ
( หรือ กดชมที่ลิงค์นี้
https://www.youtube.com/watch?v=URcuVfzwB4g)

ภาพข่าวจาก
ที่สิงคโปร์ ก็ไม่น้อยหน้า ใช้โรบอต เป็นโค้ชนำผู้สูงวัยให้ขยับร่างกาย ชื่อว่า “RoboCoach” โดยขณะนี้ โรโบโค้ชเป็นลีดเดอร์ในการออกกำลังกายอยู่ที่ศูนย์กิจกรรมผู้สูงอายุในเมือง โดยนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวมการสื่อสารและสารสนเทศ นาย Yaacob Ibrahim กล่าวว่า “ ‘โรโบโค้ช’ ช่วยให้การออกกำลังกายในแต่ละวันของผู้สูงอายุมีความเพลิดเพลินมากขึ้นจริง ๆ ครับ”

Illus by burst.shopify.com/Nicole De Khors
ย้อนกลับไปสู่ยุคแรกของการก่อตั้งนโยบาย Active Ageing โดย WHO ตั้งแต่ปี 1996 ( พ.ศ. 2539 ) ด้วยตระหนักถึงจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น หากใครติดตามข่าวสารของ WHO จะเห็นได้ว่า มักจะมีโปรแกรมออกมาส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพ และ การดำรงชีวิตที่มีคุณภาพออกมาอย่างสม่ำเสมอ นโยบายที่วางแผนออกมาล่าสุด คือ กลยุทธ์ว่าด้วยเรื่องวุฒิวัย และ สุขภาพ
โดยมีเป้าหมายสู่การเข้าถึงการวัดระดับสุขภาพของประชากรโลก โดยใช้เกณฑ์ชี้วัดจาก คุณสมบัติด้านความสามารถ - สุขภาพชีวิตที่สมบูรณ์ต่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้สูงวัย - และ การไม่มีโรคภัย ซึ่งกลยุทธ์นี้มีจะดำเนินการ และ มีผลต่อผู้สูงวัยในด้านสภาพแวดล้อมที่ดี, ระบบสุขภาพ และ การดูแลในระยะยาว ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อ และ โรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมวัย เช่น โรคทางผิวหนัง, การมองเห็น, กระดูก และ สุขภาพช่องปาก
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับบทความอัพเดทสถานการณ์ผู้สูงอายุโลกวันนี้ หวังว่าผู้อ่านจะได้ข้อมูลอะไรดี ๆ และตระหนักถึงการดูแลตัวเอง และ ครอบครัวให้ดีขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีในปัจจุบันของคุณกันนะคะ ขอบคุณที่ติดตามบทความจากทางเรา
อ้างอิงเนื้อหา Source :
AGED - SUPER AGED Society เทรนด์ที่กำลังคุกคามโลก
Michael Hodin, 2017. Population Ageing 2017.
https://www.huffingtonpost.com/entry/population-aging-2017_us_596938dae4b09e26b6d767cb
UN, 2015, World Population Ageing.
http://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2015_Report.pdf
United Nations, Department of Economic and Social Affairs. 2015. World Population Ageing 2015
United Nations Department of Economic and Social Affairs. 2017. World Population Prospects: The 2017 Revision
https://www.un.org/development/desa/publications/world-population-prospects-the-2017-revision.html
. How Will Artificial Intelligence Help the Aging?. 2017
https://www.smithsonianmag.com/innovation/how-will-artificial-intelligence-help-aging-180962682/

การลงแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถสร้างคุณประโยชน์ต่อด้านร่างกายได้หลากหลาย โดยการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการฟื้นฟู การบำบัด การบรรเทาอาการเจ็บปวด และ ปัญหาด้านสุขภาพได้ตามศาสตร์ของธาราบำบัด การแช่ตัวในอ่างน้ำร้อน สามารถส่งผลให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพ ได้จาก 3 ปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้
- ระบบนวดเจ็ท ( Hydrotherapy Jets Massage )
- อุณหภูมิของน้ำอุ่น ( Warm Water ) อุณหภูมิความร้อน 35 - 40 องศาเซลเซียส
- คุณประโยชน์จากแรงพยุงตัวของน้ำ ( Buoyancy )


ในบทความนี้ทางคิวแอนด์จี จะมานำเสนอแง่มุมคุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อน เพื่อใช้สำหรับการแช่น้ำอุ่นบริเวณพื้นที่ภายนอกบ้าน ที่จะส่งผลให้ข้อดีต่อความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ( Privacy ) เพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิต การเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต การให้คุณค่าของความสุขอันพิเศษเฉพาะตน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ที่บ้าน อันเป็นสถานที่ให้ความรู้สึกสบายใจได้ทุก ๆ วัน
เพื่อความผ่อนคลาย แบบส่วนตัว
คุณประโยชน์ของการเป็นเจ้าของอ่างน้ำร้อนภายนอกบ้าน คือ การสร้างพื้นที่ในการพักผ่อนแบบส่วนตัว โดยลูกค้าสามารถผ่อนคลายไปกับการแช่น้ำที่บ้าน โดยไม่ต้องพบปะคลุกคลีกับบุคคลอื่นที่เราไม่ได้รู้จัก การผ่อนคลายในสถานที่ส่วนตัว เป็น ความสุข ด้วยการหลีกออกจากสังคมภายนอก ต่างไปจากการใช้บริการในสถานดูแลสุขภาพ เช่น ส่วนกลางสปาของโรงแรม รีสอร์ท บ่อน้ำอุ่นแบบรวม ศูนย์ธาราบำบัด บ่อน้ำแร่ออนเซ็น เป็นต้น